วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

คลังบทความ : กรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

           คลังบทความ


             ข้อ 1 จากบทความที่ได้อ่าน  ผู้เขียนมีความสนใจการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรที่  5  ที่เป็นบริษัทผลิตสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย  เนื่องจากองค์กรดังกล่าวได้มีการแบ่งแยกหน่วยงานออกเป็น 2 ส่วน  ได้แก่  หน่วยการผลิต  และหน่วยสนับสนุนการผลิต  ซึ่งมีฟังก์ชั่นการทำงานที่แตกต่างกันออกไป  รวมถึงกานำเอาระบบบารืโค๊ดเข้ามาใช้งานในการลดวเลาการทำงานลง  และ 2 หน่วยงานดังที่กล่าวข้างต้นก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบดาวเทียม  ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  โดยทางผู้เขียนเห็นว่าระบบที่ทางองค์กรดังกล่าวจะต้องพัฒนาเพิ่มเติมได้แก่ระบบดังต่อไปนี้

               1.ระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM)  ระบบลูกค้าสัมพันธ์เป็นระบบที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการขาย  และการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ผลิตและลุกค้า  การสร้างความเชื่อมันในตัวบริษัท  โดยระบบทั้งหมดจะต้องมีการสร้างการสื่อสารกันระหว่างหน่วยงานดังกล่าว  กับฝ่ายขายและฝ่ายบัญชี  เพื่อตรวจสอบสถานะลูกค้า  ว่าเป็นลูกค้าชึ้นดีหรือไม่  การทำโปรโมชั่น  การให้บริการที่ดี  ก็จะเกิดจากการคิดและวางแผนของแผนนกนี้นี่เอง

               2.ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM)  เนื่องจากองค์กรนี้เป้นองกรทางด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า  จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบบริหารจัดการเกี่ยวกับแหล่วสินค้า  การติดต่อสื่อสารกับผู้ผลิต  การหาแหล่งสินค้าใหม่ๆ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร้จและความแข็งแกร่งทางธุรกิจด้วย

               3.ระบบการผลิตและบริการจัดการวัตถุดิบ (Product and Material Management : P&MM)  ระบบดังกล่าวถือว่าเป็นหัวใจของการผลิตเนื่องจากว่า  สินค้าสำคัญของโรงงานเกิดจากการผลิต  ดังนั้นทางผู้จัดการโรงงานควรจะมีข้อมูลด้านการผลิตทั้งหมดเพื่อการตัดสินใจ  เช่น  การสั่งสินค้าเพิ่มเติม  สินค้าคงเหลือในสต๊อก   ระยะเวลาการผลิตสินค้าต่อชิ้น  โดยข้อมุลเหล่านี้จะถูกใช้ในการวางแผนการผลิต  และระบบการผลิตและบริหารจัดการวัตถุดิบสามารถตอบโจทย์ข้างต้นได้เป็นอย่างดี

             การทำงานของ 3 ระบบทีพัฒนาขึ้นจะต้องมีการมำงานที่เชื่องโยงกัน  เพื่อให้ทั้ง 3 ระบบย่อยรบมเป้นระบบเดียวกัน  และข้อมูลที่ไหลภายในระบบก็จะทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการตัดสินใจและการทำงาน  ลดเวลาให้สั้นลง  เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น


ข้อ 2  การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ   ผู้เขียนขอเสนอแนวทางการพัฒนา 3 ด้านดังต่อไปนี้

            1.การพัฒนาทางด้านโครงสร้างการสื่อสาร   ระบบอินเตอร์ที่ให้บริการอยุ่ในประเทศไทยยังกระจุกอยุ่ภานในเขตชุมชนเมือง   ทำให้การสื่อสารเกิดช่องว่างขึ้น  และการที่จะพัฒนาระบบ E-learning  ก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่   เมื่อการพัฒนาด้านโครงสร้างการสื่อสารมีความพร้อมแล้ว  จึงจะเกิดการพัฒนาทางด้านอื่นๆต่อไป

            2.  การพัฒนา  Software  ที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้  โดยอาจจะเป็นพื้นฐานของการเรียนขึ้นเบื้องต้น   การพัฒนาดังกล่าวอาจจะเป็น Web Base Application   หรือระบบการเรียนแบบ  Mobile  learning  ก็ได้

           3.พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา  ให้มีความรู้ความชำนาญในการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนอย่างเต็มประสิทธิภาพ  อาจจะจัดอบรมการใช้งานโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น  หรือแม้แต่การสร้างเนื้อหาการเรียนการสอน  การสอนแบบใช้กลวิธี  รวมไปถึงการอบรมผู้เรียนให้ใช้เครื่องมือที่มีอย่งามีประสิทธิภาพด้วย

 
           การพัฒนาระบบสารสนเทศทั้ง 3 แบบดังที่กล่าวมาจะทำให้ระบบการเรียนการสอนดังที่สมเด็จพระเทพฯท่านทรงดำริอาจจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน


ข้อ 3    การพัฒนาระบบ  E-Sevice  และ ระบบ  Web Service  สำหรับโครงการการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  ควรพัฒนาในรูปแบบประยุกต์ใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ที่สามารถทำให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นได้หลายมิติใน  Application  เพียงตัวเดียว  เช่น  มิติทางด้านภูมอศาสตร์   วัฒนธรรม  ความเป็นอยุ่  รายได้ต่อหัว   โดยเป็นการรวมเอาข้อมุลทางด้านประชากรที่เกี่ยวข้อทุกด้านมารวมเป็นเหมือนศูนย์ข้อมูลกลาง  ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับ  หน่วยงานที่ต้องการข้อมูลสำหรับการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ   และความสำคัญสำหรับประชาชนในพื้นที่  ก็คือ  เป็นเสมือนคลังข้อมูลที่สามารถสืบค้นภูมิปัญาของแต่ละท้องถิ่น  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  โดยสามารถกระทำผ่านระบบ  GIS  ได้
     

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม



   การพัฒนาระบบสารสนเทศเทศศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม  ที่มีความครอบคลุมวัฒนธรรมทุกด้านและทุกภูมิภาคทั่วประเทศเป็นสิ่งที่ดี  เนื่อจากกว่า  วัฒนธรรมไทยของแต่ละภูมิภาคต่างก็เอกลักษณ์เป็นของตัวเอง  เช่น  วัฒนธรรมการกิน  ความเชื่อ  วิธีชีวิต  การอยุ่ร่วมกันในสังคม เป็นต้น  โดยวัฒนธรรมถูกลืมเลือนไปกับกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่เชี่ยวกราก  ทำให้คนรุ่นใหม่หลงลืมความเป็นไทย  หลงไหลได้ปลื้มไปกับความสะดวกสบาย  วิธีความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนไป  รวมไปถึงคุณธรรม จริยธรรมที่คนสมันก่อนให้ความสำคัญอย่างมาก  แต่คนในปัจจุบันก็เลือกที่จะมองข้าม  อีกอย่างวัฒนธรรมบางประเภทแสดงถึงภูมิปัญญาของท้องถื่นอย่างแท้จริง  จึงควรส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ความเป้นไทยและขนบธรรมเนียมที่ดีไว้เป็นสิ่งเตือนสติกับลูกหลานต่อไป

       จากการทดลองใช้ระบบของศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรม
และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้พัฒนาขึ้น  มองเห็นทั้งข้อดี  และข้อด้อยดังต่อไปนี้

            ข้อดีของระบบ
                  1. เป็นะบบที่รวบรวมเอาวัฒนธรรมของชาติด้านต่างๆไว้อย่างครบถ้วน
                  2.มีเมนูทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้สามารถเลือกใช้บริการได้ ทั้งชาวไทยและชาวต่าง
                     ชาติที่สนใจ
                  3.มีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบแผนที่  ทำให้สะดวกในการเดินทางและค้นหา
                  4.มีการกำหนดหมาวหมู่ของวัฒนธรรมอย่างชัดเจน  ทำให้ง่ายและสะดวกในการค้นหา

            ข้อด้อยของระบบ
                 1.ระบบภาษาอังกฤษยังพัฒนาไม่เต็มรูปแบบ  เมือ่ผู้ใช้เลือกภาษาอังกฤษแล้ว  ข้อมูลที่นำ
                     เสนอก็ควรเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพื่อให้ชาวต่างชาติที่สนใจได้หาความรู้
                 2.ควรเพิ่มในส่วนของประเพณีที่ถูกจัดชึ้นในช่วงเวลานั้นๆด้วย  เพื่อเป็นการส่งเสริม
                    การท่องเที่ยว
                 3.สร้างการเชื่อมโยงกันแหล่งที่พัก  ร้านอาหารประจำท้องถิ่น  เพื่อให้ผู้ใช้งานที่สนใจจะ
                    เดินทางไปท่องเที่ยวหรือพักผ่อนหย่อนใจสามารถกำหนดที่พักและสถานที่
                    ในการเดินทางได้ 

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Excise Department Front office.

  Smart Office ของกรมสรรพสามิต

       ระบบ  Smart  Office  ของกรมสรรพสามิต   จากบทความที่ได้อ่าน  ผู้เขียนยังมองว่า  เป็นระบบสมาร์ทออฟฟิตที่ยังไม่เต็มรูปแบบ  เนื่องจากว่า  เป็นเพียงลักษณะของการพัฒนาหน้าตาให้ดูสวยขึ้น  น่าเข้ามาใช้บริการมากขึ้น  รวมไปถึงในด้าน  Software  ก็ยังไม่ครบตามที่ควรจะเป็น   การพัฒนาระบบ  Smart Office  ที่ควรจะเป็นควรจะพัฒนาในรูปแบบดังต่อไปนี้



       1. ด้าน  Hardware   สิ่งที่ควรพิจารณาในการพัมนาเพิ่มเติม  คือการพัฒนาด้านการติดต่อสื่อสารผ่านทุกช่องทางที่สามรถกระทำได้  เช่น  ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง  ระบบวิทยุออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการหรือกิจกรรมดีๆ  ระบบการติดสารผ่านเครือข่ายมือถือ   รวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างด้านการจัดเก็บข้อมูลที่ดี  มีระบบการสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ   การจัดการข้อมูลบนเครื่อข่ายเป็นต้น

        2.  ด้าน  Software   นอกจากมีการใช้ระบบ Barcode  และระบบบัตรคิวแล้ว  ควรพัฒนาระบบ  Office  Automation  เพื่อความรวดเร็วและลดต้นทุน  ระบบการแชร์ไฟล์เพื่อประหยัดหารใช้กระดาษ  และระบบการแชร์เครื่องพิมพ์ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้  นอกจากนั้นแล้วก็พัฒนาระบบการจัดเฏ็บข้อมูลของผู้เสียภาษีที่กรมสรรพสามิครเกี่ยวข้องด้วย  เพื่อนเป้นฐานข้อมูล  รวมไปถึงระบบการคำนวณภาษาสำหรับผู้มาใช้บริการเพื่อเป้นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการเพิ่มเติมเข้ามา  รวมไปถึงระบบการสร้างรายงานภาพรวมของการประมวลผลการจัดเก็บภาษี  และรายงานอื่นๆผู้บริหารต้องการด้วย


        

      3. ด้านเจ้าหน้าที่และบุคลากร   ควรได้รับการอบรมการใช้ระบบอย่างดีเพื่อให้บริการได้อย่างเต้มประสิทธิภาพ  และการอบรมการบริการอย่างสุภาพและเป็นกันเอง  รวมไปถึงการสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการด้วย


แหล่งอ้างอิงรูปภาพ
1.http://incquity.com/articles/office-operation/smart-office
2.http://www.jongjarern.com/insurances/index.php?topic=628.0
3.http://www.samsungapps.com/topApps/topAppsDetail.as?productId=G00000089108


CRM How to : Front-to-Back Office

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์   (Customer Relationship Management : CRM) 

 
         เป็นกระบวนการในการสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้า  ในสมัยก่อนที่ระบบอินเตอร์เน้ตยังไม่เฟื่องฟูก็ใช้ระบบโทรศัพท์ในการติดต่อสื่สารกับลูกค้า  หลังจากนั้นเมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้นจึงมีการพัฒนาโปแกรมเพื่อในการพัฒนาระบบริหารลุกค้าสัมพันธ์  และทำให้ขยายวงกว้างมากขึ้นจนในปัจจุบันระบบดังกล่าวกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ   เนื่องจากว่าระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์อาจจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับระบบการซื้อ  การขาย  การชำระเงินขององค์กรธุระกิจนั้นๆเสียทีเดียว  แต่ก็ถือว่าเป็นระบบที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและช่วยให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีก  รวมไปถึงการส่งเสริมการขายและการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัทได้หรือองค์กรนั้นๆได้  กระบวนการพัฒนาระบบบริหารลุกค้าสัมพันธ์จาก  front office  ให้ไปเป็นระบบที่อยู่เบื้องหลังหรือที่เรียกกันว่า  ระบบ  Back  office  นั้นทางผู้เขียนมีความเห็นว่า  ควรจะมีการจัเตรียมหรือพัฒนาระบบต่างดังต่อไปนี้
      1.จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้าน   Infrastructure  ให้มีความพร้อมและรวดเร็ว  เนื่องจากว่า  จะต้องมีการรองรับกับปริมากการติดต่อสื่อสารที่มีปริมาณมากๆและรองรับกับการที่ระบบต้องมีการติดต่อกับระบบฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่  รวมไปถึงขั้นตอนวิธีการประมวลผลข้อมูลด้วย
       2.การจัดเตรียมโครงสร้างฐานข้อมูลลูกค้า  เนื่องจากว่าจะต้องมีการสร้างฐานข้อมูลเก้บข้อมูลประวัติลูกค้า  ประวัติการชำระเงิน   การสั่งสินค้าและอื่นๆ  ซึ่งข้อมูลจะมีปริมาณมหาศาล  ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า 1 คนจะถูกเรียกดูเพื่อตรวจสอบและสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานสายปฎิบัติการ  และผู้บริหารในการอนุมัติวงเงิน  เป็นต้น
       3.การจัดเตรียมโปรแกรมในการจัดการ  CRM   เช่น  ระบบตรวจสอบเครดิตลูกค้า   ระบบการส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยงานย่อยในองค์กรเพื่อให้ดูอัตโนมัติและลดเวลาการทำงาน  เป็นต้น   โปรแกรมดังกล่าวจะเป็นเสมือนผู้ช่วยในการลดขึ้นตอนที่จุกจิกให้ง่ายและสั้นลง  ทำให้ลอเวลาในการสั่งงาน   รวมไปถึงการรายงานสรุปรวบยอดตามที่ผู้บริหารต้องการ

          เมื่อทั้ง 3 ระบบดังที่กล่าวมาขิ้งต้นได้ถูกจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว  กระบวนการพัฒนาระบบ  CRM  จากที่เป็นระบบที่เป็น  Front office   เพื่อไปเป็นระบบ  Back office  ก็จะมีขึ้น   ดังนั้นแล้ว  การพัฒนาดังกล่าวฟังดูก็อาจจะเหมอนกับยาก  แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งก็ดูไม่ซับซ้อนอะไร  เพียงแต่จะต้องเข้าใจถึงความต้องการและเป้าหมายของระบบว่าต้องการอะไรแน่จากระบบที่พัฒนาขึ้นมา   ในการแบ่งระหว่าง  Front office  และ  Back office  ให้ดูรูปภาพเป็นตัวอย่างว่า  ขอบเขตของการแบ่งนั้นมีขอบเขตเป็นเช่นไร  ดังภาพ

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

ฉันคือประชาชน



ฉันคือ ประชาชน   ต้องอดทน ได้ทุกอย่าง แม้นปัญหา มันคับคั่ง  ประเดประดัง อยู่ในใจ
ฉันคือ ประชาชน   ต้องห้อยโหน ทุกวันวี่ รถเมล์ มันล้นปรี่  ร้อนสิ้นดี ก็ต้องทน
ฉันคือ ประชาชน   ผู้ดิ้นรน ทุกเช้าค่ำ เหงื่อไคล มันไหลฉ่ำ   หน้าก็ดำ ตัวก็เหนียว
ฉันคือ ประชาชน   ที่ผอมโซ เหมือนซังหญ้า อยู่ตามทุ่ง ตามป่า  ไร้ราคา ค่าควรมอง
ฉันคือ ประชาชน  ไม่ใช่คน ที่มีเกียรติ ไปไหน ต้องละเลียด  ค่อยๆเหยียด ค่อยๆเงย
ฉันคือ ประชาชน  ไม่เหมือนคน ที่ยิ่งใหญ่ ไปไหน คนก็ไหว้ เอามือไขว้ หว่างขา
ฉันคือ ประชาชน   ไม่ใช่คน มีอำนาจ ไม่เคยคิด ไม่เคยคาด  จะผูกขาด ประเทศไทย
คือ ประชาชน  ไม่เหมือนคน ที่ยิ่งใหญ่ ไปไหน คนก็ไหว้  เอามือไขว้ หว่างขา
คือ ประชาชน   ไม่ใช่คน มีอำนาจ ไม่เคยคิด ไม่เคยคาด  จะผูกขาด ประเทศไทย

     บทเพลง ฉันคือประชาชน  ของวงคาราวาน  ขับกล่อมออกมาจากเครื่องเล่นเอ็มพี 3 หน้ารถในเช้าวันจันทร์ที่ทั้งแสนรถติดและฝนก็พลอยเทซ้ำลงมา  ความเป็นมาของบทเพลงนี้เกิดขึ้นมาร่วม 3 ทศวรรษ  แต่ก็ยังมีสิ่งที่สะท้อนออกมาจากบทเพลงให้ได้เห็นว่า  30 ปีที่ผ่านมาเป็นยังไง  ทุกวันนี้ก็ยังเป็นยังงั้นอยู่   ประชาชนในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของสังคมก็ยังคงต้องเบียดเสียด อาบเหงื่อต่างน้ำ ทำงานหนักเพื่อหาเงินที่เขาทั้งหลายเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความสุข  โดยเพาะประชาชนที่เป็นคนเมือง  ในมุมตรงกันข้ามประชาชนในชนบทก็หาได้แตกต่างกันไม่  เพียงแต่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริบทเท่านั้นเอง  ภาพที่เห็นเมื่อเช้าจากข่าวภาคเช้า  ที่ประชาชนน้ำตานองหน้าหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดของประเทศ  ภาพของความเสียหายจากไร่นาที่ถูกน้ำท่วม  ความทุกข์แสนสาหัสเหล่านี้ยังต้องการคนมาเยียวยาอยู่  แต่ในขณะเดียวกันอีกภาพของข่าวสะท้อนให้แทนภาพของรัฐบาลและฝ่ายค้านที่มาก่นด่ากันในเรื่องของการปรับตำแหน่ง  คนนั้นได้  คนนี้ไม่ได้  มันจึงดูเป็นภาพที่ดูขัดกันในความรู้สึกของของประชาชนอย่างเราๆท่านๆเสียเหลือเกิน  หรือเพราะเราประชาชนไม่ใช่คนยิ่งใหญ่  คนมีอำนาจอย่างที่บทเพลงเขาว่า  หลายปัญหาจึงไม่ได้รับการเหลียวแลอย่างที่ควรจะเป็น

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเชื่องโยง web Service

นายพิพิธเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปทำงานตามปกติ  ระหว่างทางรถที่นายพิพิธขับรถอยู่นั้นเกิดไปเฉี่ยวชนกับรถยนต์อีกคัน  พอลงมาจากรถได้  ปรากฎว่าคู่กรณียังเป็นเยาวชนอยู่และได้รับบากเจ็บด้วย  จึงต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเข้ามาลงบันทึกประจำวัน   เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงร้องขอข้อมูลจากฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก  เพื่อเช็กประวัติรถทั้ง 2 คัน ว่าเจ้าของรถที่แท้จริงของทั้ง 2 คันเป็นของใครกันแน่  และอีกอย่างคู่กรณียังเป็นเยาวชนที่ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง   จึงต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ  และเพื่อความไม่ประมาทเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องขอข้อมูลจากฐานข้อมูลของรถที่แจ้งหายไว้ด้วย  หลังจากลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานแล้ว  จึงนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล  เมื่อไปถึงโรงพยาบาล  เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลนำผู้ป่วยไปรักษาตามขั้นตอน  ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ห้องบัตรก็ตรวจสอบประวัติการเจ็บปวดหรือประวัติการเข้ารับการรักษาพร้อมทั้งตรวจสอบสิทธิการรักษาว่าเป็นบัตรทอง  บัตร 30 บาท  จากฐานข้อมูลกลางของ  สปสช.  หรือมีประกันอุบัติเหตุอื่นๆไว้หรือไม่  เพื่อทำการเบิกจ่ายตามระเบียบ  และข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการรักษา  เช่นประวัติการแพ้ยา  ประวัติการรับการรักษาที่โรงพยาบาล  จะถูกส่งไปให้แพทย์ที่ทำการรักษาโดยอัตโนมัติ  

           จะเห็นว่าจากบทความดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงระบบต่างๆของหลายๆหน่วยงานเข้าด้วยกัน  เพื่อความสะดวกของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์  ที่จะช่วยลดเวลาและสามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที  โดยที่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลและยานพาหนะจะถูกเก็บไว้ที่ฐานข้อมูลของหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่รับผิดชองดูแลในแต่ละด้าน

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554