คลังบทความ
ข้อ 1 จากบทความที่ได้อ่าน ผู้เขียนมีความสนใจการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรที่ 5 ที่เป็นบริษัทผลิตสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย เนื่องจากองค์กรดังกล่าวได้มีการแบ่งแยกหน่วยงานออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ หน่วยการผลิต และหน่วยสนับสนุนการผลิต ซึ่งมีฟังก์ชั่นการทำงานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงกานำเอาระบบบารืโค๊ดเข้ามาใช้งานในการลดวเลาการทำงานลง และ 2 หน่วยงานดังที่กล่าวข้างต้นก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบดาวเทียม ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยทางผู้เขียนเห็นว่าระบบที่ทางองค์กรดังกล่าวจะต้องพัฒนาเพิ่มเติมได้แก่ระบบดังต่อไปนี้
1.ระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM) ระบบลูกค้าสัมพันธ์เป็นระบบที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการขาย และการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ผลิตและลุกค้า การสร้างความเชื่อมันในตัวบริษัท โดยระบบทั้งหมดจะต้องมีการสร้างการสื่อสารกันระหว่างหน่วยงานดังกล่าว กับฝ่ายขายและฝ่ายบัญชี เพื่อตรวจสอบสถานะลูกค้า ว่าเป็นลูกค้าชึ้นดีหรือไม่ การทำโปรโมชั่น การให้บริการที่ดี ก็จะเกิดจากการคิดและวางแผนของแผนนกนี้นี่เอง
2.ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) เนื่องจากองค์กรนี้เป้นองกรทางด้านการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบบริหารจัดการเกี่ยวกับแหล่วสินค้า การติดต่อสื่อสารกับผู้ผลิต การหาแหล่งสินค้าใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร้จและความแข็งแกร่งทางธุรกิจด้วย
3.ระบบการผลิตและบริการจัดการวัตถุดิบ (Product and Material Management : P&MM) ระบบดังกล่าวถือว่าเป็นหัวใจของการผลิตเนื่องจากว่า สินค้าสำคัญของโรงงานเกิดจากการผลิต ดังนั้นทางผู้จัดการโรงงานควรจะมีข้อมูลด้านการผลิตทั้งหมดเพื่อการตัดสินใจ เช่น การสั่งสินค้าเพิ่มเติม สินค้าคงเหลือในสต๊อก ระยะเวลาการผลิตสินค้าต่อชิ้น โดยข้อมุลเหล่านี้จะถูกใช้ในการวางแผนการผลิต และระบบการผลิตและบริหารจัดการวัตถุดิบสามารถตอบโจทย์ข้างต้นได้เป็นอย่างดี
การทำงานของ 3 ระบบทีพัฒนาขึ้นจะต้องมีการมำงานที่เชื่องโยงกัน เพื่อให้ทั้ง 3 ระบบย่อยรบมเป้นระบบเดียวกัน และข้อมูลที่ไหลภายในระบบก็จะทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการตัดสินใจและการทำงาน ลดเวลาให้สั้นลง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น
ข้อ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ผู้เขียนขอเสนอแนวทางการพัฒนา 3 ด้านดังต่อไปนี้
1.การพัฒนาทางด้านโครงสร้างการสื่อสาร ระบบอินเตอร์ที่ให้บริการอยุ่ในประเทศไทยยังกระจุกอยุ่ภานในเขตชุมชนเมือง ทำให้การสื่อสารเกิดช่องว่างขึ้น และการที่จะพัฒนาระบบ E-learning ก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ เมื่อการพัฒนาด้านโครงสร้างการสื่อสารมีความพร้อมแล้ว จึงจะเกิดการพัฒนาทางด้านอื่นๆต่อไป
2. การพัฒนา Software ที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ โดยอาจจะเป็นพื้นฐานของการเรียนขึ้นเบื้องต้น การพัฒนาดังกล่าวอาจจะเป็น Web Base Application หรือระบบการเรียนแบบ Mobile learning ก็ได้
3.พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความชำนาญในการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนอย่างเต็มประสิทธิภาพ อาจจะจัดอบรมการใช้งานโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น หรือแม้แต่การสร้างเนื้อหาการเรียนการสอน การสอนแบบใช้กลวิธี รวมไปถึงการอบรมผู้เรียนให้ใช้เครื่องมือที่มีอย่งามีประสิทธิภาพด้วย
การพัฒนาระบบสารสนเทศทั้ง 3 แบบดังที่กล่าวมาจะทำให้ระบบการเรียนการสอนดังที่สมเด็จพระเทพฯท่านทรงดำริอาจจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววัน
ข้อ 3 การพัฒนาระบบ E-Sevice และ ระบบ Web Service สำหรับโครงการการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ควรพัฒนาในรูปแบบประยุกต์ใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ที่สามารถทำให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นได้หลายมิติใน Application เพียงตัวเดียว เช่น มิติทางด้านภูมอศาสตร์ วัฒนธรรม ความเป็นอยุ่ รายได้ต่อหัว โดยเป็นการรวมเอาข้อมุลทางด้านประชากรที่เกี่ยวข้อทุกด้านมารวมเป็นเหมือนศูนย์ข้อมูลกลาง ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับ หน่วยงานที่ต้องการข้อมูลสำหรับการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ และความสำคัญสำหรับประชาชนในพื้นที่ ก็คือ เป็นเสมือนคลังข้อมูลที่สามารถสืบค้นภูมิปัญาของแต่ละท้องถิ่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยสามารถกระทำผ่านระบบ GIS ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น